วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

search engine

search engine




search engine หมายถึง อุปการณ์ที่ช้วยในการค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ง่ายต่อการสืบค้นข้อมูลที่เราต้องการ ซึ่งก็มีทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ก็แล้วแต่ลิงค์ที่เราค้นหาหรือผู้ให้บริการแต่ละราย โดยการกรอกข้อมูลที่เราต้องการค้นหา เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แล้วรอสักครู่ข้อมูลที่เราต้องการก็จะแสดงออกมาให้เราตามที่เราต้องการ

search engine ในปัจจุบันมี search engineให้เรามากมายที่เรารู้กักกันดีคือ http://www.google.com/ , http://www.yahoo.com/ , http://www.bing.com/ , http://ask.com/ และ http://www.sanook.com/


เทคนิคในการค้นหาข้อมูล ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือประสบอยู่เสมอๆ ก็คงจะหนี ไปไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อ ความสะดวกในการใช้งานคุณจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆ เพื่อช่วย ลดหรือจำกัดคำที่ค้นหาให้แคบลง และตรงประเด็นกับเรามากที่สุด ดังนี้
     1. เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจะค้นหา
ข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูลแบบ Index อย่างของ yahoo
เพราะโอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมา นั่งสุ่มหาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine ใช้คำมากกว่า 1
คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ ผลลัพธ์ที่มีขนาด แคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น

     2. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่น การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพยนตร์ก็น่า
ที่จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใกล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพธ์ที่ได้น่าจะเป็น
ที่น่าพอใจกว่า โดยใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุม กลุ่มคำที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าต้องการผลการค้นหาที่มีคำในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น
"free shareware" เป็นต้น
      3. การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด Search Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการให้ค้นหา
คำดังกล่าวแบบไม่ต้องสน ใจว่าตัวอักษรที่ได้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากต้องการอยากที่จะให้ค้นหาคำตรงตามแบบที่เขียนไว้ก็ให้ใช้ตัวอักษรใหญ่แทน
ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic หรือตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหา มีอยู่ 3 ตัวด้วยกันคือ AND, OR, NOT
      4. AND สั่งให้หาโดยจะต้องมีคำนั้นๆ มาแสดงด้วยเท่านั้น โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น
phonelink AND pager เป็นต้น
       5. OR สั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง
       6. NOT สั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆมาแสดง เช่น food and cheese not butter หมายความว่า
ให้ทำการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ food และ cheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น
       7. ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ + หน้าคำที่ต้องการจริงๆ - (ลบ) ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ
() ช่วยแยกกลุ่มคำ เช่น (Pentium +computer) cpu
       8. ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น com* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น
อะไรไม่สนใจ *tor เป็นการ ให้หาคำที่ลงท้ายด้วย tor ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ


ทหารรักษาพระองค์

ทหารรักษาพระองค์

ทหารรักษาพระองค์ คือ หน่วยทหารที่มีหน้าที่ถวายความปลอดภัยและถวายพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์โดยใกล้ชิด เฉพาะกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เนื่องด้วยเป็นหน่วยที่ถวายการรับใช้ต่อองค์พระมหากษัตริย์อย่างใกล้ชิดที่สุด (คำว่า "ราชวัลลภ" นี้ แปลได้ว่า ผู้เป็นที่รัก สนิท คุ้นเคยของพระราชา)
-ประวัติ
กิจการทหารรักษาพระองค์และทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2404 ในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมบุตรในราชตระกูลและบุตรข้าราชการที่ยังเยาว์วัยมาทดลองฝึกหัดเป็นทหารตามยุทธวิธีแบบใหม่เช่นเดียวกับกรมทหารหน้า ซึ่งในชั้นแรกนั้นมี 12 คน และให้ทำหน้าที่ไล่กาที่บินมารบกวนในเวลาทรงบาตร ตลอดจนตั้งแถวรับเสด็จฯ ณ ที่นั้นทุกเวลาเช้า มหาดเล็กเหล่านี้เอง (ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า “ทหารมหาดเล็กไล่กา”) คือจุดเริ่มต้นของกิจการทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ของไทย
ปลายปี พ.ศ. 2411 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกผ่านพ้นไปแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมทหารมหาดเล็กข้าหลวงเดิมจำนวน 24 คน ตั้งขึ้นเป็นหน่วยทหารอีกหน่วยหนึ่ง เรียกว่า “ทหารสองโหล ถือปืนชไนเดอร์” มีหน้าที่เฝ้าพระฉากตามเดิมแต่ในตอนเช้าและตอนเย็น ต้องมารับการฝึกทหาร
พ.ศ. 2413 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ชูโต) จางวางมหาดเล็ก ทำการคัดเลือกบรรดาบุตรในราชตระกูล และบุตรข้าราชการที่เป็นทหารมหาดเล็ก เพื่อจัดตั้งเป็นกองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ทำหน้าที่รักษาพระองค์อย่างใกล้ชิด และตามเสด็จในเวลาเสด็จประพาสหัวเมือง ในชั้นนี้คัดเลือกไว้ 48 คน เมื่อรวมทหารมหาดเล็ก 2 โหลเดิมด้วยแล้ว จึงมีทหารมหาดเล็กทั้งหมด 72 คน
เมื่อการปฏิบัติหน้าที่กว้างขวางขึ้น จำนวนทหารที่มีอยู่เดิมจึงมีจำนวนไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรีคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นทหารเพิ่มขึ้น ในการนี้ พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ชูโต) ได้นำบุตรชาย คือ นายเจิม ชูโต (ต่อมาคือเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เจิม แสง-ชูโต) เข้าถวายตัวเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ โดยสมัครเป็นตัวอย่างคนแรก (เนื่องจากสมัยนั้นคนไทยไม่นิยมเป็นทหาร) ทำให้มีจำนวนทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์เพิ่มขึ้นทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และที่เป็นเด็ก เพราะทุกคนต่างก็เห็นและรู้สึกเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลในการที่บุตรหลานของตนได้เข้ารับราชการใกล้ชิดพระมหากษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหน่วยทหารดังกล่าวขึ้นเป็น กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ และทรงดำรงพระยศเป็นนายพันเอก ตำแหน่งผู้บังคับการกรมด้วยพระองค์เอง ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จนมั่นคงดีขึ้น และได้ทรงขนานนามหน่วยนี้เสียใหม่ว่า กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในปี พ.ศ. 2414 (ปัจจุบันหน่วยทหารนี้คือ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์)
หน่วยทหารรักษาพระองค์ได้มีวิวัฒนาการต่อมาตามลำดับจากต้นกำเนิดดังกล่าวมาแล้ว ต่อมาจึงมีการก่อตั้งหน่วยทหารรักษาพระองค์ที่เป็นหน่วยรบจากเหล่าต่างๆ เช่น ทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ ฯลฯ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับกองพัน และหน่วยบังคับบัญชาของหน่วยนั้นในระดับกรมมักจะตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้อยู่ใกล้ชิดองค์พระมหากษัตริย์ รวมทั้งสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง แต่ก็มีบางหน่วยที่มีที่ตั้งอยู่นอกกรุงเทพมหานคร เช่น กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี เป็นต้น
-ธงชัยเฉลิมพลหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

ปกติหน่วยทหารรักษาพระองค์จะมีธงชัยเฉลิมพลประจำหน่วยเป็นพื้นสีธงชาติ ตรงกลางมีรูปตราประจำเหล่าทัพของตนเองเหมือนกับหน่วยทหารทั่วไป แต่สำหรับหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์บางหน่วยจะมีธงชัยเฉลิมพลพิเศษสำหรับหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์โดยเฉพาะ ธงนี้มีลักษณะคล้ายกับธงชัยเฉลิมพลปกติ เว้นแต่ว่าตรงกลางธงเป็นรูปช้างเผือกในกรอบสีเหลี่ยมสีแดง สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อปี พ.ศ. 2496 และพระราชทานแก่หน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 โดยหน่วยทหารที่ได้รับพระราชทานธงหน่วยแรกคือ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์

ข้อดีและข้อเสียของการทำบล็อก


ข้อดีของการทำบล็อก ก็คือ
1. เจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะนำเสนอ อะไรก็ได้ ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น ที่ไม่ผิดกติกาของผู้ให้บริการบล็อกที่เราทำอยู่ (oknation) ที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถ้าเราใช้จริยธรรมในใจกำกับ กฎต่างๆก็อยู่ที่เราจะกำหนดเองค่ะ
2. เปิดโอกาสให้ บล็อกเกอร์ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ จะรับไว้ จะไม่อ่าน จะตอบ จะลบ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าของบล็อก แต่ก็ไม่ลดสิทธิ์ที่ผู้ให้บริการบล็อกจะเข้ามาช่วยดูแลในกรณี ฉุกเฉิน หรือมีปัญหาที่ต้องดำเนินการ
3. ในด้านเทคนิค เจ้าของบล็อกสามารถปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมี ความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย อาศัยบทเรียนง่ายๆ การสังเกตุ การทดลอง สามัญสำนึกช่วยก็ทำเองได้ หรืออาจขอความช่วยเหลือเล็กๆน้อยๆจากผู้ที่มีประสบการณ์ก็สามารถเข้าไปแก้ไข Source Code เองได้
4. สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
5. ช่วยเป็นกระบอกเสียง ทำประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆได้ รวมทั้งผลงานให้เป็นที่รู้จัก หากบุคคล นักธุรกิจ คนดัง นักร้อง ค่ายเพลง นักแสดง หมอดู นักการเมือง องค์กร ห้างร้านสนใจมาทำบล็อกก็จะได้ประโยชน์ในเรื่องการตลาดอย่างมาก หากใช้อย่างมีเป้าหมาย มีการวางแผน ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และบริหารบล็อกอย่างมืออาชีพ หรือด้วยมืออาชีพ
6. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกทำธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่หารายได้จากการจำหน่ายสินค้า บริการ หรือ หารายได้จากการเป็นสมาชิก การลงโฆษณา ก็ตาม
7. ได้พื้นที่ใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แถมมีคนคอยบริการ ช่วยเหลือเมือ่มีปัญหาทางด้านเทคนิค หรือปัญหาทั่วๆไปที่เกี่ยวกับ บล็อก
8. ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือ สิ่งเก่าๆ ที่ยังไม่รู้ ให้รู้มากขึ้น จากการนำมาแลกเปลี่ยนกันและกัน
9. ได้มิตรภาพใหม่ๆ จากความสัมพันธ์กับคนในชุมชนบล็อก กับเพื่อนของบล็อกเกอร์ และเพื่อนของเพื่อนของ.....
10. ใช้เป็นช่องทางสื่อสารกับครอบครัว เพื่อนฝูง เมื่อยามห่างไกลกัน
11. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกได้แสดงออกถึงความสามารถ ความคิดเห็นได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน บางท่านอาจจะกลายเป็นคนดังได้ เช่น คุณ kittinun ป้ามด และอีกหลายๆท่าน
12. เปิดโอกาสให้ประชาชนคนธรรมดา กลายเป็น ผู้สื่อข่าวได้ เพียงแค่นำเรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจ น่าตระหนัก มาเสนอในช่วงเวลาที่เหมาะสม
13. เปิดโอกาสให้บล็อกเกอร์ได้แสดงตัวตนที่เป็นตัวเอง หรืออาจจะเป็นด้านที่ไม่มีใครรู้มาก่อนได้ แม้จะอยู่ชื่อแฝง หรือจะอยู่ในชื่อจริงก็ตาม
14. เป็นไดอารี่บันทึกประจำวัน เป็นที่เก็บข้อมูลประจำครอบครัว ประจำสถาบัน ใช้เป็นจดหมายเหตุได้
15. เป็นที่พบปะสังสรรค์เพือนเก่า เครือญาติ ศิษย์เก่าสถาบันต่างๆได้
16. เก็บไว้เป็นที่ระลึกถึงตัวเอง ถึงคนอันเป็นที่รัก ที่ชัง ครอบครัว เพื่อน คนอื่นรวมไปถึงสัตว์เลี้ยง พืช งานอดิเรก ของรัก ของหวง รวมถึงเหตุการณ์ที่น่าจดจำรำลึก ในยามที่เลิกหรือไม่ได้ทำบล็อกแล้ว
17. เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ ให้บุคคลอื่นเข้ามาค้นคว้า ศึกษาได้ในปัจจุบันและอนาคต
18. เปิดโอกาสให้ผู้ที่อาจจะต้องอยู่ในมุมมืด เช่นผู้มีอาชีพพิเศษ นักโทษ ผู้ที่ไม่ต้องการเผยตัว ได้ใช้เป็นเวทีแสดงออกและแลกเปลี่ยน เรื่องราว ความคิดเห็น แนวทาง โดยไม่จำเป็นต้องเผยชื่อ
19. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการปรับแนวทางความคิด ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และอาจจะนำไปสู่ความรู้รักสามัคคี และการสมานฉันท์ ในการนำส่วนที่ดีดี มาใช้ร่วมกันก็เป็นได้
20. ใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน เช่นกรณีของการนำเสนอข่าวอย่างฉับไว เจาะลึก มีพร้อมทั้งภาพและเสียง ผ่านสื่อต่างๆหลายรูปแบบ ซึ่งในเครือ The Nation ใช้อยู่ในปัจจบุนนี้
21.  ใช้ เป็นศูนย์รวมการให้ความรู้ การศึกษาวิชาการ วิชาชีพ ศิลปะ การติว การให้การบ้าน การส่งการบ้าน ของครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป 
22. ใช้สร้าง รวมกลุ่ม ชุมชนออนไลน์ย่อยๆ เพื่อการระดมความคิด พบปะพูดคุย ปรึกษาธุระ แสดงผลงานร่วมกัน เช่น ร้อยแก้ว ร้อยกรอง วรรณกรรม การ์ตูน งานศิลปะอื่นๆ ตามแตความสนใจของกลุ่มย่อยนั้น ในบางกรณี ยังสามารถกำหนด password ในการเข้าบล็อกของกลุ่มเพื่อรักษาความลับไม่ให้รั่วไหล
23. ใช้เป็นสถานีวิทยุออนไลน์ ให้บริการข่าว ฟังเพลง ตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อเสียของการทำบล็อกนั้น ก็มีอยู่ เช่น
1. บล็อกเกอร์มีอิสระในการนำเสนอ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสเรื่องที่ไม่เหมาะสม เรื่องที่หมิ่นเหม่ หรือ เข้าข่ายผิดกฎหมาย ผิดประเพณีและศีลธรรมอันดีได้ จึงต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบ ของบล็อกเกอร์มากำกับไว้เอง
2. ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถกลั่นกรองเนื้อหาได้ 100% เว้นแต่จะสร้างระบบกรองคำหยาบ คำต้องห้ามไว้เพื่อให้มีการตรวจทานก่อนเผยแพร่ อาจมีความเสี่ยงเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายไปด้วยหากมีบล็อกเกอร์โพสข้อความ รูปภาพ ไม่เหมาะสมแล้วมีการฟ้องร้องขึ้นมา
3. ในทางปฏิบัติ ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถบังคับหรือกำหนดแนวทางให้บล็อกเกอร์นำเสนอได้ แม้จะโปรโมทให้ oknation เป็นสังคมของ CJ Citizen Jouranalist แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า จะไม่สามารถอยู่ได้หากไม่มีบล็อกเกอร์ที่ทำบล็อกในแนวอื่น ซึ่งเปรียบเสมือนมีคอมลัมน์หลากหลายในหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ จึงน่าจะถือว่า เป็นเรื่องของการสร้างชุมชนที่ดีร่วมกัน
4. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยถึงน้อยมาก
5. ความน่าเชื่อถือของข้อมูลขึ้นกับความน่าเชื่อถือของบล็อกเกอร์ มากกว่าตัวข้อมูลเอง หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้
6. เปิดโอกาสให้พวกป่วนเข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน
7. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้ หากไม่ใช้การวางจิตเป็นกลาง ไม่นำเหตุและผลมาโต้แย้งกันโดยสันติ
8. เปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่ กระจายข่าวปั้นแต่ง ข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวยั่วยุ
9. การที่มีบล็อก และเรื่องใหม่ๆมากมายในแต่ละวัน การนำเสนอเรื่องเดิมซ้ำๆกันอาจเกิดขึ้นได้ เช่นการนำ ข้อความจากฟอร์เวิร์ดเมล์ มาโพส เป็นต้น